กิจกรรมที่6

การนำ blog  มาใช้ในการเรียนการสอน

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานี้ วงการศึกษาของไทยได้เคลื่อนไหวและพยายามนำความคิดและวิธีการใหม่ ๆหรือนวัตกรรมการศึกษามาใช้เพื่อพัฒนาไปสู่ผลทางการศึกษาที่ดีขึ้นในบรรดา หลายความคิดและหลายวิธีการเหล่านั้นในเชิงปฏิบัติอาจยังเป็นที่สับสน และเป็นที่น่าสงสัยในแง่ต่าง ๆ อยู่หลายอย่าง เป็นต้นว่า ในขณะนี้มีนวัตกรรมการศึกษาใดบ้าง ที่เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องส่วนมากระดับการ ยอมรับนวัตกรรมยังอยู่ในระดับใดเพราะเหตุใดนวัตกรรมการศึกษาบางประเภทจึง เป็นที่ยอมรับกันอย่างมั่นคงบางประเภทล้มลุกคลุกคลาน บางประเภทปรากฏเป็นที่ยอมรับกันพักเดียวก็เลิกไปตลอดจนนวัตกรรมการศึกษา เหล่านั้นมาจากไหนหรือเกิดขึ้นได้อย่างไรดังนั้นจึงขอถือโอกาสนี้อภิปรายแง่ คิดเกี่ยวกับนวกรรมการศึกษาเป็นด้าน ๆ ไปดังต่อไปนี้
การเรียนรู้ภายใต้กระบวนการต่าง ๆ จะสร้างมุมมองที่เป็นองค์รวม คือ มองเห็นงาน เห็นปัญหา เห็นชีวิต ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน มองว่าปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของงาน และมองเห็นงานเป็นกระบวนการที่สำคัญของชีวิต การศึกษาในปัจจุบันไม่ได้จำกัดแต่ในห้องเรียนแล้วเท่านั้น หากแต่สามารถจัดการศึกษาได้โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน ทุกสถานที่ หรือทุกเวลาที่ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต
สิ่งจำเป็นที่จะผลักดันให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในเนื้อหา และบูรณ์การองค์ความรู้ใหม่โดยใช้เทคโลยีที่เหมาะสม คือการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน โดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน
ดังนั้น การพัฒนาการเรียการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา โดยเฉพาะผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและทันต่อเหตุการณ์ ต่างๆในโลก เพื่อให้เกิดประสิทธิผลนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ ครู – อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู – อาจารย์ คิดค้นรูปแบบต่าง ๆ คือ นวัตกรรม (Innovation)
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบ ใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริง อีกด้วย
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
การจัดการเรียนการสอนเพื่อเกิดความสนใจในกระบวการเรียรู้ เพื่อเร้าความสนใจให้แก่ผู้เรียน ต้อง
นำ เอานวัตกรรมเข้ามาผนวกกับการศึกษาช่วยในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ที่เรียกว่า "นวัตกรรมการศึกษา" ให้เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำเอาแนวคิด วิธีการการเกี่ยวข้องกับการศึกษา มาพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพให้การศึกษา ให้มีระบบที่ดียิ่งขึ้น มีคุณภาพ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลสูงขึ้น อันได้แก่ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่คิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด สิ่งที่คิดเพิ่มเติมจากเดิม หรือสิ่งที่เคยนำมาใช้แล้วและปรับปรุงให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น การนำวิธีการใหม่ๆ ที่ดีกว่ามาปรับปรุงแก้ไขวิธีการเดิมๆ การคิดค้นระบบหรือการจัดการวิธีการ การวิจัยหรืออื่นๆ แล้วนำมาเผยแพร่กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนแบบโปรแกรม ชุดการสอน เป็นต้น
ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนที่ดีนั้น นอกจากจะมีนวัตกรรมการสอนที่ดีทันสมัย มาใช้กับผู้เรียนให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด นอกเหนือจากนวัตกรรมมาที่เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนหรือวิธีการสอนเท่าแล้วนั้น ยังต้องมีสิ่งสำคัญเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย ครูผู้สอน หลักสูตรหรือเนื้อหา ผู้เรียน สื่อ/อุปกรณ์ และทักษะกระบวนการต่างๆ ทั้งหมดล้วนก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ต่อผู้เรียนได้ตลอดเวลา และตลอดชีวิต
นวัตกรรมการเรียนการสอนจึงมีความสำคัญหลายประการ ดังนี้
1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น 4. การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน
1. นวัตกรรมการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
2. นวัตกรรมสื่อการสอน เช่น CAI WBI WBT VC WebQuest Webblog E-learning
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า นวัตกรรมการเรียนการสอนมีความสำคัญ ต่อวงการศึกษา ดังนี้
1. เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น
1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคง
ยึด รูปแบบการสอนแบบบรรยายโดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้น ปลาย เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็น
นามธรรม ยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วยปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็น ต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้
2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู – อาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู – อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป