วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การทำงานของคอมพิวเตอร์



         คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ  โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ  Input  Process และ output   ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ

   ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)

            เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น   ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง   ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ   หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น

  ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)

             เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ การ

ประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่

สุด เป็นต้น

  ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)

             เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้   โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทาง

จอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ Public Sector Management Quality



Award :PMQA

PMQA เป็นคำย่อมาจาก Public Sector Management Quality Award แปลเป็นภาษาไทยว่า รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งประเทศไทยโดย ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้ประยุกต์นำมาจาก MBNQA (รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา) และ TQA (รางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศไทย) เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย และกำหนดเป็น “เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า PMQA

PMQA คือการนำหลักเกณฑ์และแนวทางการบริหารองค์การที่เป็นเลิศ ซึ่งได้ยอมรับเป็นมาตรฐานสากลโลก มาประยุกต์ใช้พัฒนาระบบบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ โดยอาศัยหลักการประเมินองค์กรด้วยตนเองเป็นการทบทวนสิ่งที่องค์กรดำเนินการเทียบกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เมื่อตรวจพบว่าเรื่องใดยังไม่อยู่ในระบบที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับเกณฑ์ องค์กรจะได้พัฒนาวิธีปฏิบัติเพื่อปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานไปสู่มาตรฐานระดับสากล

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ลักษณะสำคัญขององค์กร
2. เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประกอบด้วย 7 หมวด

ระบบกลุ่มควบคุมคุณภาพ (Quality Control Cycle :QCC )
เขียนโดย ศุภโชค กำเนิดงาม 5355708023 ที่ 8:39 0 ความคิดเห็น
กิจกรรม QCC คือ กิจกรรมที่สร้างความร่วมมือร่วมใจในการสร้างผลงานให้ได้คุณภาพตามเป้าหมาย โดยการค้นหาจุดอ่อน และหาสาเหตุแห่งปัญหา แล้วระดมปัญญาแก้ไขปรับปรุงและว่างแผนคุณภาพอย่างเป็นระบบ

- เป็นกิจกรรมที่พนักงานกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 1-10 คนร่วมมือร่วมใจกัน
- นำปัญหาในองค์กรของกลุ่มตนมาศึกษาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ใช้เหตุผล ใช้ข้อมูล และวิธีการทางสถิติประกอบการตัดสินใจ
- ผู้บังคับบัญชาระดับต้นเป็นแกนนำ
- ยึดหลักการของวงจร PDCA และเครื่องมือในการแก้ปัญหา
- การทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพต้องไม่ขัดกับนโยบายขององค์กร
- กระทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องสามารถนำผลงานที่ทำสำเร็จมาแสดงได้
- เป็นการบริหารงานจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน (Down-Top System)
- ปรัชญาของกลุ่มกิจกรรม QCC คือ คุณภาพจะเกิดขึ้นได้ โดยการใส่เข้าไประหว่างการปฏิบัติงาน แต่ไม่ใช่...โดยวิธีการตรวจสอบ

ประโยชน์ของการทำกิจกรรม QC Circle คือบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทำงานดีขึ้น พนักงานอบอุ่น มีขวัญ กำลังใจ ความภาคภูมิใจ ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มคุณภาพของสินค้า และงาน ลดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหาร เศรษฐกิจของประเทศดี ประชากรมีคุณภาพมากขึ้น และช่วยวางรากฐานประชาธิปไตย

เทคนิคสำหรับกิจกรรม QC Circle คือวิธีทางสถิติ การระดมสมอง แผนภูมิก้างปลา การคิดสร้างสรรค์ การประเมินและตัดสินใจ การทำงานร่วมกันเป็นทีม

การนำ QC มาใช้ในโรงเรียนคือ การให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่องระบบ QC แก่ฝ่ายบริหารทุกระดับในโรงเรียนโดยตรง พิจารณา วางแผนดำเนินงาน ทดลองใช้ ประกาศใช้และ จัดระบบส่งเสริมสนับสนุน

สรุปภาพ QC คือ เป็นการรวมทีมทำงานด้วยความร่าเริงและมีประสิทธิภาพ สามัคคีและหันหน้าเข้าพูดจากัน ทุกคนมีความตั้งใจเป็นผู้นำ ทุกคนคิด ทุกคนทำ สิ่งที่กระทำต้องมีความหมายและจุดหมายร่วมกัน











ติดต่อเรา

http://www.212cafe.com/freeguestbook/show.php?user=seeseeree
http://thaimisc.pukpik.com/cgi-bin/freeguestbook/guest.pl?action=view&user=tssaha&page=0